โรควิตกกังวล Anxiety Disorder

โรควิตกกังวล

ความวิตกกังวลนั้นเป็นปกติของคนเรา โดยวิตกกังวลในระดับปกติ ข้อดีคือทำให้เราเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆได้อย่างรอบคอบ แต่ถ้าความวิตกกังวลนั้นมากกว่าปกติก็อาจจะทำให้เราทุกข์ใจ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง จนกลายเป็นโรควิตกกังวลในที่สุด ซึ่งถ้าปล่อยเอาไว้ไม่รักษาก็จะทำให้เกิดผลเสียมากมายตามมาได้

สาเหตุของโรควิตกกังวล

  • ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ สารสื่อประสาทผิดปกติ ทำให้สมองบางส่วนทำงานผิดปกติไปจากเดิม ระบบประสาทอัตโนมัติถูกกระตุ้นได้ง่ายกว่าปกติ
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม พบว่าคนที่เป็นโรควิตกกังวลจะมีประวัติมาจากครอบครัว และเป็นโรควิตกกังวลได้บ่อยกว่าคนทั่วไป
  • ปัจจัยทางสังคม อาจจะเป็นมาตั้งแต่การเลี้ยงดูในวัยเด็ก ว่าเด็กที่มีพ่อแม่วิตกกังวลสูงก็จะเลียนแบบแล้วก็เป็นโรคกังวลได้เช่นกันค่ะ

อาการของโรควิตกกังวล

  • ขึ้นอยู่กับว่าเป็นโรคแบบไหน เช่น
  • โรคกังวลทั่วไป ก็จะมีอาการกังวลในหลายๆเรื่อง ไม่สามารถควบคุมความกังวลนี้ได้ แล้วก็จะมีอาการทางกายร่วมด้วย เช่น รู้สึกหมดพลังงานง่าย สมาธิไม่ดี การนอนหลับไม่ดี หงุดหงิดง่าย กระสับกระส่าย ปวดตึงตามกล้ามเนื้อ
  • โรคแพนิคแพนิค โรคนี้คนไข้จะมีอาการแพนิคกำเริบ เช่น มีเหงื่อออกมากผิดปกติ กลัวว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้กลัวว่าจะทำให้ถึงตายหรือรู้สึกไม่เป็นตัวของตัวเอง
  • โรคกลัวการเข้าสังคม คนที่เป็นโรคนี้จะกลัวเวลาที่เจอคนเยอะๆ เวลาที่จะโดนจับจ้อง ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่ต้องไปนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน หรือว่าเวลาที่ต้องไปกินข้าวคนเดียว
  • โรคที่กลัวจำแบบจำเพาะเจาะจง คนไข้ก็จะกลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากๆ อย่างเช่นบางคนกลัวเลือด บางคนกลัวที่สูง

การวินิจฉัยว่าเป็นโรคและการรักษา

จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคได้แสดงว่าความวิตกกังวลนั้นต้องมีมากเกินกว่าคนปกติ ส่งผลกระทบกับหน้าที่การงาน หรือบางคนที่มีโรคประจำตัว เช่น เป็นโรคหัวใจ โรคตับ โรคทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการเหมือนคนเป็นแพนิคได้ หรือว่าการใช้ยาและสารเสพติดบางประเภท เช่น ยาบ้า ก็ทำให้วิตกกังวลได้เช่นกัน

การรักษาโรควิตกกังวลนะคะขึ้นอยู่กับว่าเป็นโรควิตกกังวลแบบวิตกกังวลทั่วไป ก็จะรักษาด้วยตัวยาต้านเศร้าและการทำจิตบำบัด การฝึกแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี หรือโรคกลัวแบบเฉพาะเจาะจง ก็มักจะรักษาด้วยการเน้นการเผชิญ

ติดตามยารักษาโรค : คลังยาและเวชภัณฑ์

ติดตามเทคโนโลยีสุขภาพ : Guruit